วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Geographic Information System 1



Geographic Information System 1


การใช้โปรแกรม ArcMap 10






คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา







วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ผู้จัดทำ




ผู้จัดทำ



นางสาวนิศารัตน์     อนันต์   รหัสนิสิต 57170069  กลุ่ม 1


นางสาวมิรันตี   ปะติตังโข    รหัสนิสิต  57170171  กลุ่ม 1


นางสาวฐิตพร    ปีกา    รหัสนิสิต 57170194  กลุ่ม 1



นางสาวอลิษา   ดุริพันธุ์    รหัสนิสิต 57170228  กลุ่ม 1


นางสาวอารียา    ศรีใจอินทร์  รหัสนิสิต  57179229  กลุ่ม 1



เสนอ


อาจารย์ ดร.ณรงค์  พลีรักษ์




การแสดงผล 3D

การแสดงผล 3D






การแสดงผล 3D

          ชั้นข้อมูลที่จะนำมาแสดงแบบ  3 มิตินั้นจะต้องมีค่าความสูง  z  เสมอ





Topology

Topology











          Topology  หมายถึง  โครงสร้างข้อมูลซึ่งได้จากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่ถูกใช้เพื่อระบุ (Define) ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ระหว่างลักษณะเชิงพื้นที่ประเภทต่างๆ ( จุด ส่วนโค้ง  และรูปหลายเหลี่ยม)

ประโยชน์ของ  Topology
  Topology  มีประโยชน์อย่างมากในการค้นหาความผิดพลาดของข้อมูล  ความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุใน  Topology  สามารถแสดงผล  เช่น 

         - เส้นที่มีความผิดพลาด : Undershoot, Overshoot, Non-intersection  เป็นต้น
         - เส้นที่มีการนำเข้าอย่างซ้ำซ้อน
         - พื้นที่ปิดที่ไม่ปิดสนิท



ที่มา   http://gis.stackexchange.com/questions/11004/removing-small-spaces-slivers-between-polygons





การใช้เครื่องมือ Geoprcessing Wizard

การใช้เครื่องมือ  Geoprcessing  wizard






การใช้เครื่องมือ  Geoprcessing

1. clip การตัดข้อมูลบริเวณที่ต้องการ
2. Batch Processing  การตัดข้อมูลหลายๆ ข้อมูลพร้อมกัน ด้วยข้อมูลที่แตกต่างกัน
3. Erase  การลบชั้นข้อมูล
4. Intersect  การหาพื้นที่ซ้อนทับของข้อมูล
5. Union  การรวมพื้นที่เข้าด้วยกัน
6. Buffer  การสร้างระยะห่างหรือแนวกันชนใช้บริเวณข้อมูลที่เลือก
7.Append - การเพิ่มชั้นข้อมูลแผนที่
8.Merge – การรวมชั้นข้อมูลตั้งแต่ 2 ชั้นขึ้นไปเข้าด้วยกัน (ส่วนมากใช้ทำตาราง)
9.Dissolve – การรวมกลุ่มข้อมูลที่เหมือนกันให้เป็นอันเดียว





การทำ Layout

การทำ  Layout








การจัดทำแผนที่ Layout
ในการจัดทำแผนที่ควรมีองค์ประกอบที่สำคัญดังต่อไปนี้

1. ตัวแผนที่ (Map Body)
เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของแผนที่ หากขาดตัวแผนที่ไปจะไม่มีข้อมูลมาแสดงเป็นแผนที่ได้

2.  ชื่อแผนที่ (Title)
บอกให้ทราบว่าเป็นแผนที่ เรื่องอะไร แสดงอะไร เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์ได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ เช่น แผนที่แสดงแนวเขตของพื้นที่ต่าง ๆ   แผนที่แสดงความหนาแน่นของประชากร แผนที่แสดงการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นต้น

3.  คำอธิบายสัญลักษณ์ (Legend)
ใช้อธิบายความหมายของรายละเอียดของสิ่งต่างๆ บนพื้นผิวโลกที่แสดงลงบนแผนที่

4.  มาตราส่วน (Scale)
ความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางบนแผนที่กับระยะทางในภูมิประเทศจริง ซึ่งเป็นข้อมูลที่บอกให้ผู้ใช้แผนที่ทราบว่า แผนที่นั้นๆ ย่อส่วนมาจากของจริงในอัตราส่วนเท่าใด เช่น แผนที่มาตราส่วน 1:50,000 ระยะทางจริงในภูมิประเทศ 1 กิโลเมตร เมื่อเขียนลงแผนที่อาจจะเขียนย่อส่วนลงจาก 1 กิโลเมตร เป็น 2 เซนติเมตร เป็นต้น

  5.  ทิศ (North Arrow)
ในแผนที่จะระบุทิศเหนือไว้เสมอ เพื่อให้อ่าแผนที่ได้ง่ายขึ้น ในกรณีที่แผนที่ไม่ได้ระบุทิศไว้ให้เข้าใจว่าเมื่อหันหน้าเข้าหาแผนที่ ด้านบนของแผนที่คือทิศเหนือ ด้านล่างเป็นทิศใต้ ด้านขวามือเป็นทิศตะวันออกและด้านซ้ายมือเป็นทิศตะวันตก

6.  ระบบพิกัด ( Coordinate System)
เป็นระบบที่สร้างขึ้นสำหรับใช้อ้างอิงในการกำหนดตำแหน่งหรือบอกตำแหน่งพื้นโลกจากแผนที่ มีลักษณ์เป็นตารางโครงข่ายที่เกิดจากตัดกันของเส้นตรงสองชุดที่ถูกกำหนดให้วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ และแนวตะวันออก - ตะวันตก ตามแนวของจุดศูนย์กำเนิด (Origin) ที่กำหนดขึ้น  ค่าพิกัดที่ใช้อ้างอิงในการบอกตำแหน่งต่างๆ จะใช้ค่าของหน่วยที่นับออกจากจุดศูนย์กำเนิดเป็นระยะเชิงมุม (Degree) หรือเป็นระยะทาง (Distance) ไปทางเหนือหรือใต้และตะวันออกหรือตะวันตก ตามตำแหน่งของตำบลที่ต้องการหาค่าพิกัดที่กำหนดตำแหน่งต่าง ๆ จะถูกเรียกอ้างอิงเป็นตัวเลขในแนวตั้งและแนวนอนตามหน่วยวัดระยะใช้วัด

7.  แหล่งที่มา (Data Source) หรือผู้จัดทำ (Map Maker)

หากข้อมูลที่นำมาใช้มาจากหน่วยงานอื่น ควรมีการใส่แหล่งที่มาในแผนที่ด้วย



การนำเข้าค่าพิกัด XY และการดิจิไตซ์

การนำเข้าค่าพิกัด XY และการดิจิไตซ์






การนำเข้าค่าพิกัด XY   
           
            การนำเข้าค่าพิกัด XY   เป็นการเปลี่ยนข้อมูลตารางให้เป็นข้อมูลจุด   โดยการนำค่า พิกัด XY  ที่เก็บได้ใส่ลงในตาราง (Excel) จากนั้น   save  งานที่อยู่ในตาราง  (Excel)  เป็นนามสกุล .txt   เพื่อสามารถนำข้อมูลค่าพิกัดที่เก็บค่าพิกัด XYไปใช้ในโปรแกรม ArcMap  ได้
            
การดิจิไทซ์
            การดิจิไทซ์ (Digitizing) เป็นวิธีการคัดลอกลายจากแผนที่ต้นฉบับ เช่น ภาพถ่ายดาวเทียม ภาพถ่าย ทางอากาศ แผนที่ภูมิประเทศ แผนที่โฉนดที่ดิน ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงจุดภาพ (Raster) ให้อยู่ในระบบข้อมูล เวกเตอร์ (vector) ในรูปแบบจุด (point) เส้น (line) หรือพื้นที่ (polygon) ด้วยระบบคอมพิวเตอร์






การสร้าง Geodatabats

การสร้าง Geodatabase






Geodatabase คือ การจัดเก็บชุดข้อมูลทางภูมิศาสตร์ประเภทต่าง ๆ ให้อยู่ในโฟลเดอร์

Geodatabase แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1.Personal Geodatabase 
2.File Geodatabase

การนำเข้าข้อมูล มี 2 แบบ คือ
1.Single (ครั้งละ 1 ไฟล์)
2. Multiple(ครั้งละ 2 ไฟล์ขึ้นไป)




เครื่องมือ Labeling

การปรับคุณสมบัติของป้ายข้อมูลด้วยเครื่องมือ Labeling





       
            Labeling คือการจัดวางป้ายข้อความให้กับข้อมูล ในที่นี้ Label ก็คือตัวอักษรที่กำกับข้อมูลบนแผนที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจุด ข้อมูลเส้น และข้อมูลแผนที่




การนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่และการเปิดข้อมูลคุณลักษณะ

การนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่และการเปิดข้อมูลคุณลักษณะ






การนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่และการเปิดข้อมูลคุณลักษณะ

        - การนำเข้าข้อมูลเวกเตอร์  ได้แก่  ข้อมูลจุด เส้น และโพลิกอน  
        - ตารางข้อมูลคุณลักษณะ   มีความสัมพันธ์กับข้อมูลจุด เส้น  และโพลิกอน





การนำเข้าและแสดงชั้นข้อมูล

การนำเข้าและแสดงชั้นข้อมูล





วิธีนำเข้าข้อมูล
   
     1. connect folder  งานที่ต้องการ  และลากไฟล์งานที่ต้องการลงสู่ Display area
     2. Add data ได้  3 หนทาง
         2.1. แถบ toolbar เลือกไอคอน Add data
         2.2. คลิกขวาที่ Layer  บริเวณหน้าต่าง  Table of Contents และเลือก Add data
         2.3. File เลือก Add data >>> Add data


วิธีการแสดงชั้นข้อมูล

     หน้าต่าง  Table of Contents จะแสดงชั้นข้อมูลการทำงานที่เปิดขึ้นขณะนั้น  โดยบริเวณหน้าชั้นข้อมมูลแต่ละชั้นข้อมูลจะมีช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆ อยู่ ถ้าหากต้องการแสดงชั้นข้อมูลในหน้าต่าง Display  area   ก็เพียงคลิกที่ช่องสี่เหลี่ยมหน้าข้อมูลที่ต้องการ ในช่องสี่เหลี่ยมก็จะปรากฏเครื่องหมายถูกขึ้น



แนะนำโปรแกรม ArcMap 10


แนะนำโปรแกรม  ArcMap 10









ส่วนประกอบของโปรแกรม ArcMap 10
 
     1. Take bar  แสดงชื่อเอกสาร                  
     2. Menu bar  แสดงแถบเครื่องมือ
     3. Tool bar  แสดงแถบเครื่องมือ              
     4. Table of Contents  แสดงข้อมูลที่กำลังทำงาน
     5. Display area  หน้าต่างทำงาน            
     6. Catalog  windows  มีไว้สำหรับบแก้ไข copy ย้าย หรือลบชั้นข้อมูล
     7. Status bar  แสดงพิกัดและหน่วยของแผนที่